วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทาน "เวตาล"

            

       นิทานเวตาล


              นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
             
           ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
             
     
         ประวัติผู้แต่ง

             พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัส



     เนื้อเรื่อง

 
          ณ ฝั่งแม่น้ำโคทาวรี มีพระมหานครนามว่า ประดิษฐาน ที่เมืองนี้มีพระราชาธิบดีองค์หนึ่งทรงนามว่า ตริวิกรมเสน ได้ครองราไชศวรรย์มาด้วยความผาสุก พระองค์เป็นราชโอรสของพระเจ้าวิกรมเสนผู้ทรงเดชานุภาพเทียมท้าววัชรินทร์ ต่อมาได้มีนักบวชชื่อ ศานติศีล ได้นำผลไม้มาถวายทุกวันมิได้ขาด ซึ่งพระราชาแปลกใจ และได้ไปพบในคืนหนึ่งตามนัด ได้ถามถึงเหตุผลและเพื่อเป็นการ   ตอบแทนบุญคุณ โยคีศานติศีลจอมเจ้าเล่ห์ได้ขอให้นำเวตาลมาให้ตนเพื่อจะประกอบมหายัญพิธี พระราชาผู้มีสัจจะเป็นมั่น ได้ไปนำเวตาลมาให้โยคี แต่เวตาลก็พยายามหน่วงเหนี่ยวด้วยการเล่านิทาน ๒๔ เรื่องด้วยกัน ซึ่งแต่ละเรื่องจะมีคำถามให้พระราชาตอบ โดย มีข้อแม้ว่า หากพระราชาทราบคำตอบแล้วไม่ตอบ ศีรษะของพระราชาจะต้องหลุดจากบ่า และหากพระราชาเอ่ยปากพูดเวตาลก็จะ  กลับไปสู่ที่เดิม

          และก็เป็นดังนั้นทุกครั้ง ที่พระราชาตอบคำถามของเวตาล เวตาลก็จะหายกลับไปสู่ต้นไม้ที่สิงที่เดิม พระราชาก็จะกลับไปเอา   ตัวเวตาลทุกครั้ง จนเรื่องสุดท้ายพระราชาไม่ทราบคำตอบ ก็ทรงเงียบไม่พูด เวตาลพอใจในตัวพระราชามาก เพราะเป็นพระราชาผู้ไม่  ย่อท้อ ทำให้เวตาลบอกความจริงในความคิดของโยคี ว่าโยคีนั้นแท้จริงแล้ว ต้องการตำแหน่งราชา โดยจะเอาพระราชาเป็นเครื่องสังเวยในการทำพิธี และอธิบายถึงวิธีกำจัดโยคีเจ้าเล่ห์ เมื่อพระราชาเสด็จมาถึงโยคีตามที่นัดหมายไว้ ก็ปรากฏว่าโยคีได้เตรียมการทำอย่างที่เวตาลได้บอกกับพระราชาไว้ พระราชาจึงแก้โดยทำตามที่เวตาลได้อธิบายให้ฟัง พระราชาจึงได้ตำแหน่งราชาแห่งวิทยาธร และเวตาล  ได้บอกกับพระราชาว่า "ตำแหน่งนี้ได้มาเพราะความดีของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะคอยพระองค์อยู่หลังจากที่ทรงเสวยสุขในโลกมนุษย์   จนสิ้นอายุขัยแล้ว ข้าขอโทษในกาลที่แล้วมาในการที่ยั่วยวนประสาทพระองค์ แต่ก็ไม่ทรงถือโกรธต่อข้า บัดนี้ข้าจะถวายพรแก่พระองค์ ขอทรงเลือกอะไรก็ได้ตามใจปรารถนาเถิด" พระราชาก็ตรัสว่า "เพราะเหตุที่เจ้ายินดีต่อข้า และข้าก็ยินดีในความมีน้ำใจของเจ้าเช่นเดียวกัน พรอันใดที่ข้าจะปรารถนาก็เป็นอันสมบูรณ์แล้ว ข้าเพียงแต่อยากจะขออะไรสักอย่างเป็นที่ระลึกระหว่างข้ากับเจ้า นั่นก็คือนิทานที่เจ้ายกปัญหามาถามข้าถึงยี่สิบสี่เรื่อง และคำตอบของข้าก็ให้ไปแล้วเช่นเดียวกัน แลครั้งที่ยี่สิบห้าคือวันนี้ถือเป็นบทสรุป แสดงอวสานของเรื่อง ขอให้นิทานชุดนี้จงมีเกียรติแพร่กระจายไปในโลกกว้าง

          เวตาลก็สนองตอบว่า ขอจงสำเร็จ โอ ราชะ บัดนี้จงฟังเถิด ข้าจะกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีเด่นของนิทานชุดนี้ สร้อยนิทานอันร้อยรัดเข้าด้วยกันดังสร้อยมณีสายนี้ ประกอบด้วยยี่สิบสี่เรื่องเบื้องต้น แลมาถึงบทที่ยี่สิบห้า อันเป็นบทสรุปส่งท้าย นับเป็นปริโยสาน นิทานชุดนี้จงเป็นที่รู้จักกันในนามของเวตาลปัญจวิงศติ (นิทานยี่สิบห้าเรื่องของเวตาล) จงมีเกียรติยศบันลือไปในโลก และนำความเจริญมาสู่ผู้อ่านทุกคน ใครก็ตามที่อ่านหนังสือแม้แต่โศลกเดียว หรือเป็นผู้ฟังเขาอ่านก็เช่นเดียวกัน จักรอดจากคำสาปทั้งมวล บรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย มียักษ์  เวตาล กุษมาณฑ์ แม่มด หมอผีและรากษส ตลอดจนสัตว์โลกประเภทเดียวกันนี้ จงสิ้นฤทธิ์เดชเมื่อได้ยินใครอ่านนิทาน อันศักดิ์สิทธิ์นี้


     คุณค่าด้านปัญญาและความคิด
   1 ความอดทนอดกลั้น
           ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10 เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้
   2 ความเพียรพยายาม
            เวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง
   3 การใช้สติปัญญา
            การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระวิกรมาทิตย์อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้ แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาลได้
   4 ความมีสติ
           ความเป็นผู้มีทิฐิมานะ ไม่ยอมในสิ่งที่ไม่พอใจ บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อผู้นั้นเอง ดังนั้น การพยายามยับยั้งชั่งใจ  ไม่พูดมากปากไวจนเกินไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเมื่อใด เราคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด เมื่อนั้นเราก็มีสติ สติเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิและปัญญา ถ้าไม่มีสติ สิ่งต่างๆที่เราทำไปหรือตัดสินใจไปโดยไร้สติอาจส่งผลร้ายเกินกว่าจะประเมินได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น